หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมผู้เขียนไม่ พรรณนาเรื่องของการรักษาศีลไว้ด้วย ผู้เขียนมีความเห็นว่า ศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๒๒๗ นั้นเป็นเพียงศีลภายนอก ผู้ขาดสติจะรักษา ศีลด้วยความรู้สึกอึดอัด ขาดๆ เกินๆ กะพร่อง กะแพร่งอยู่เสมอ แต่เมื่อฝึกเจริญสติไปได้ระยะหนึ่งแล้ว จะเกิดความอายชั่วกลัวบาปขึ้นมาเอง ศีลภายใน (องค์มรรค) จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ก่อนที่ศีลภายในจะเกิดขึ้น ผู้ฝึกใหม่ควรตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อน เพื่อป้องกันใจมิให้เศร้าหมอง อันเป็นเหตุให้ใจสงบตั้งมั่นได้ง่าย
เมื่อฝึก“รู้”อยู่เนืองๆ จะทำให้สติเริ่มคมชัดมากขึ้น จนถึงจุดที่พออารมณ์ปรากฏ สติจะเข้าไป ระลึกรู้โดยอัตโนมัติทันที
การฝึก“รู้”อย่างนี้ ก็คือการให้ใจได้เรียนรู้ และเข้าใจกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ คือรูปนามอัน เป็นไตรลักษณ์นั่นเอง คือรู้ว่าแม้จะปฏิบัติหรือไม่ ก็ตาม รูปนามนี้ก็ทำงานตั้งแต่มนุษย์เกิดจนตาย
หากยังอยากให้รูปนามเป็นอย่างที่ตน ปรารถนา ก็รังแต่จะสร้างทุกข์มาทำร้ายตนเองอยู่ ร่ำไป ซึ่งการรู้รูปนามจากปริยัติ กับรู้อย่างประจักษ์ แจ้งเองจากการปฏิบัตินั้น มีความลึกซึ้งแตกต่าง กันมาก
เมื่อ“รู้”ให้เนืองๆ สม่ำเสมอแล้วผลที่จะ เกิดขึ้นก็คือ เมื่อมีอารมณ์มากระทบจะไม่กระเทือน, ครอบครองได้แต่ไม่ยึดครอง, ปล่อยวางได้แต่ไม่ปล่อยปละละเลย, อยู่กับโลกอย่างเหนือโลกไม่หนีโลก, ไม่หลงชอบหลงชังจนเกินเหตุ, ดำเนินชีวิตได้อย่าพอเพียง
คนทั่วไปมักไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม หลงติดอยู่กับเรื่องกิน กาม เกียรติอย่างน่าสงสาร หากได้ฝึกเจริญสติอยู่บ้าง จะรู้เองว่าผลแห่งกรรม มีจริง เพราะวิบากกรรมจะปรากฏชัดเป็นสภาวะ สุขและทุกข์ต่างกันไป วิบากกรรมนั้นให้ผลตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่ผู้ที่หลงอยู่ย่อมมองไม่เห็น แต่ผู้ ปฏิบัติจะรู้-เห็นและยอมรับปรากฏการณ์นั้นอย่าง ปล่อยวางได้ ชื่อว่าได้ชดใช้หนี้กรรมและดับกรรม ไปพร้อมกัน หากปฏิบัติไปจนถึงระดับหนึ่งแล้วไม่ว่า จะเป็น เรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องถูก เรื่องผิดฯลฯ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ เลิกแบก เลิกยึดไปเอง เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม หากยังต้องแบกต้องยึดอยู่ ก็ล้วนแต่ทำให้ชีวิตหนักได้ทั้งสิ้น
เปรียบเหมือนนักแสวงโชคผู้หนึ่ง เดินไป ในระหว่างทาง พบถ่านถูกทิ้งอยู่กระสอบหนึ่ง เขาคิดว่าถ่านนี้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ จึงได้ แบกถ่านนั้นไป
แต่เมื่อเดินทางไปได้ระยะหนึ่งก็พบว่ามี ทองคำแท่งตกอยู่ข้างทาง เขาจึงทิ้งถ่านกระสอบ นั้น เพราะคิดว่าทองคำมีค่ามากกว่าถ่าน แล้วหัน มาแบกเอาทองคำเดินทางต่อไป
ครั้นเดินทางมาได้ครึ่งวัน เขาก็ยิ่งแปลกใจ เมื่อพบเพชรถูกกองทิ้งไว้ข้างทางหลายถุง ที่จริง แล้วเขาอยากได้ทั้งเพชรและทองคำ แต่กำลังที่มี อยู่เพียงจำกัด เขาจึงจำใจทิ้งทองคำและแบกเอา เพชรนั้นไป
แต่เมื่อจุดหมายที่ตั้งใจไว้ไปไม่ถึงเสียที เขาเริ่มถอดใจ อ่อนแรงเหนื่อยล้าเต็มที และรับรู้ แล้วว่า เพชรนี้แม้มีค่ามหาศาล แต่หากยังต้องแบก
หนักจนเหนื่อยตายอยู่ข้างทาง เพชรก็คงไม่มี ประโยชน์อะไร เขาจึงจำใจทิ้งเพชรนั้นไป
พลัน! เขาก็ค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดในชีวิตว่า การไม่ต้องแบกอะไรนั่นแหละ ทำให้กายใจเบาสบาย และเดินทางถึงจุดหมายได้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่า
การเดินทางบนสังสารวัฏนี้ก็เช่นกัน หาก ยังแบกดี แบกบุญ แบกสุข แบกสงบ แบกชอบ ไว้อยู่ ก็จะทำให้การเดินทางล่าช้าได้
อย่ามัวตามล่าพระอรหันต์หรือแสวงหา ความอัศจรรย์ภายนอกอยู่เลย รีบสร้างความ อัศจรรย์ให้เกิดขึ้นภายในตน ด้วยการเจริญสติ อยู่เนืองๆ เถิด แล้วจะรู้เองว่า ความมหัศจรรย์ ทั้งหลายอยู่ที่กายใจหรือรูปนามนี่เอง